หลักสูตรปริญญาเอก คณะการจัดการ
รายการหลักสูตร
รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Management (International Program)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ปร.ด. (การจัดการ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Philosophy (Management)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): Ph.D. (Management)
วิชาเอก
ไม่มี
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แผน 2.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
- รูปแบบ:
– หลักสูตรปริญญาเอก - ภาษาที่ใช้:
– ภาษาอังกฤษ - การรับเข้าศึกษา:
– รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ - ความร่วมมือกับสถาบันอื่น:
– เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ - การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา:
– ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
- รูปแบบ:
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่า สาขาการจัดการ การบริหารธุรกิจ การจัดการภาครัฐหรือทาง สังคมศาสตร์หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันที่รับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ด้วยเกรดเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีพื้นฐานความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยเป็นอย่างดี ทั้งนี้ให้ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามประกาศมหาวิทยาลัยเรื่องเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษสาหรับผู้สมัครเข้า ศึกษาระดับปริญญาเอก
- มีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับระเบียบมหาวิทยาลัยชินวัตรวาด้วยเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาปริญญาเอก พ.ศ. 2566
หมายเหตุ: ให้เป็นไปตามข้อบังคับระเบียบมหาวิทยาลัยเมธารัถย์ว่าด้วยเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาปริญญาเอก พ.ศ. 2566 โดยขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ และประสบการณ์การเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง สามารถแสดงออกถึงความเป็นผู้นำในสาขาวิชาการจัดการ ได้ในระดับนานาชาติ
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ และแสดงออกได้ถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้ และประสบการณ์ในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาการจัดการในการแก้ปัญหาการทำงานได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะความสามารถขั้นสูงในด้านการสื่อสาร การวิเคราะห์วิจัย การใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพในระดับสูง และมีทักษะความพร้อมด้านสังคม ที่จำเป็นต่อการทำงาน และการใช้ชีวิตในอนาคต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- อาชีพอิสระ/นักวิจัยอิสระ/ที่ปรึกษาธุรกิจอิสระ
- ผู้ประกอบการธุรกิจและนักธุรกิจ
- ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงภาคธุรกิจและภาครัฐ
- ที่ปรึกษาการจัดการธุรกิจของภาครัฐและภาคเอกชน
- อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างหลักสูตร
- แผน 2.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเลือก (ไม่มีหน่วยกิต)
3. วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
- แผน 2.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารธุรกิจกับการเมือง
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy in Innovation of Business and Politics Administration
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นวัตกรรมการบริหารธุรกิจกับการเมือง)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ปร.ด. (นวัตกรรมการบริหารธุรกิจกับการเมือง)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Philosophy (Innovation of Business and Politics Administration)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): Ph.D. (Innovation of Business and Politics Administration)
วิชาเอก
ไม่มี
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แผน 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
แผน 2.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
- รูปแบบ:
– หลักสูตรปริญญาเอก - ภาษาที่ใช้:
– หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ - การรับเข้าศึกษา:
– รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี - ความร่วมมือกับสถาบันอื่น:
– เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ - การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา:
– ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
- รูปแบบ:
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- หลักสูตรแผน 1.1
- เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยชินวัตร ว่าด้วยการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ การเมือง รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ รัฐบาลของประเทศนั้น ๆ ให้การรับรอง
- มีผลการเรียนในระดับปริญญาโท มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่น้อยกว่า 3.00
- มีประสบการณ์ทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอย่างน้อย 2 ปี
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษ โดยเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยชินวัตร
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยผู้เข้าศึกษาอาจจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา ตามแผน 2.1 โดยไม่นับหน่วยกิต
- หลักสูตรแผน 2.1
- เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยชินวัตร ว่าด้วยการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ การเมือง รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ รัฐบาลของประเทศนั้น ๆ ให้การรับรอง
- มีผลการเรียนในระดับปริญญาโท มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่น้อยกว่า 3.00
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษ โดยเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยชินวัตร
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานโครงการหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
- พิจารณาจากประวัติการศึกษา ประสบการณ์ทำงานจากหลักฐานการสมัครเข้าศึกษา
- ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารธุรกิจกับการเมืองที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมโลกปัจจุบัน
- เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีทางด้านการบริหารธุรกิจกับการเมืองเพื่อพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า
- เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษสำหรับการบริหารธุรกิจกับการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัล
- เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีลักษณะเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณธรรมจริยธรรมมีจรรยาบรรณ และจิตสำนึกที่ดีในการประกอบธุรกิจและการเป็นนักการเมืองที่ดี
- เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีภาวะผู้นำและผู้ตาม มีความคิดสร้างสรรค์และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการ
- นักการเมืองหรือนักปกครอง
- ผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐ ทั้งระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น
- ผู้บริหารในหน่วยงานภาคเอกชน
- นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
- นักวิจัยด้านนวัตกรรมในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
- อาจารย์ หรือวิทยากรในสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันการศึกษาอื่น ๆ
โครงสร้างหลักสูตร
- แผน 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่มีหน่วยกิต)
2. หมวดวิชาบังคับ (ไม่มีหน่วยกิต)
3. หมวดวิชาเลือก (ไม่มีหน่วยกิต)
4. ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต - แผน 2.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ( ไม่มีหน่วยกิต)
2. หมวดวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
4. ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
- แผน 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต